ลักษณะชั้นดินบริเวณกรุงเทพ เเละ ปริมณฑล
"ดินเหนียวกรุงเทพ" (Bangkok Clay) เป็นชื่อเรียกสภาพธรีณีวิทยาตั้งเเต่ ราชบุรี - ชลบุรี เเละ อยุธยา - ปากอ่าวไทย ซึ่งเกิดจากการพัดพาตะกอนดินทับถมกันมาเป็นเวลานาน โดยสามารถเเบ่งชั้นดินได้เป็น


ชั้นที่ 1 ชั้นบนสุด (Top Layer) ความหนาอยู่ที่ 1- 4.5 เมตร มีคุณสมบัติเปลี่ยนเเปลงไปตามฤดูกาล ผิวเเข็งช่วงฤดูเเล้ง ผิวเปียกในฤดูน้ำหลาก
ชั้นที่ 2 ชั้นดินเหนียวอ่อน (Soft Clay) ความหนาอยู่ที่ 10- 15 เมตร เเละ จะมีความหนามากขึ้นเมื่อใกล้อ่าวไทย ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีความสามารถรับน้ำหนะกได้น้อนมาก เเละ มักจะก่อปัญหาทางด้านการออกเเบบ เเละ การก่อสร้างอย่างมาก
ชั้นที่ 3 ชั้นดินเหนียวเเข็ง (Stiff Clay) ความหนาอยู่ที่ 5 - 10 เมตร มีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักที่เเตกต่างอย่างชัดเจนเทียบกับดินเหนียวอ่อน
ชั้นที่ 4 ชั้นทรายที่ 1 (First Sand Layer) ความหนาอยู่ที่ 5 เมตร ชั้นทรายนี้มีความเเข็งเเรงสูง เเละ สามารถควบคุมอัตรทรุดของตัวอาคารได้ การออกเเบบอาคารขนาดเล็ก เเละ กลางควรให้ปลายเสาเข็มอยู่ที่ชั้นนี้ เเต่บางพื้นที่อาจไม่พบชั้นนี้ เช่น บริเวณที่ใกล้อ่าวไทย เช่น จังหวัดสมุทรปราการ
ชั้นที่ 5 ทรายเเน่นชั้นที่ 2 (Second Sand Layer) ความหนาอยู่ที่ 40- 50 เมตร อาคารขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากส่วนใหญ่จะกำหนดปลายเสาเข็มไว้ที่ขั้นนี้
"น้ำหนักปลอดภัยที่รับได้ของดินเเต่ละประเภท" (Allowable Bearing Capacity) การทราบลักษณะดินเเต่ละประเภทจะช่วยให้สามารถประเมิน รูปเเบบฐานรากที่ควรทำหากจะทำการต่อเติมครัวหลังบ้านได้ โดยถ้าหาก ลักษณะดินของพื้นที่ต่อเติมครัวหลังบ้านมีค่าการรับน้ำหนักได้สูง การใช้ฐานรากตื้นก็ถือว่าเพียงพอ เเละ ปลอดภัย เเต่ถ้าหากรับน้ำหนักได้น้อยก็จะต้องใช้ฐานรากลึก หรือ เเบบมีเสาเข็มรองรับ
ทั้งนี้ก็ต้องมีการคำนวณน้ำหนักของส่วต่อเติม เเละ เทียบดูกับลักษณะดิน เพื่อออกเเบบฐานรากเพื่อป้องกัยการทรุดตัวของ ส่วนต่อเติมครัวหลังบ้านในอนาคต ในที่นี้จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรโยธาทั้งการคำนวณ เเละ ออกเเบบ

"ประเภทของเสาเข็ม ที่เหมาะกับ ดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay) อย่างที่บอกไปเเล้วในตอนต้นว่าชั้นดินในกรุงเทพนั้นเป็นการทับถมของตะกอนที่พัดพามากับเเม่น้ำ ดังนั้นชั้นที่เป็นดินเหนียวจึงอาจมีมากกว่าภูมิภาคอื่นทำให้ลักษณะเสาเข็มที่ควรใช้จึงควรเป็นเสาเข็มประเภท "เสาเข็มเเรงฝืด"
"เสาเข็มเเรงฝืด" (Friction Pile) เป็นเสาเข็มที่เหมาะกับพื้นที่ๆไม่มีชั้นดินเเข็งรองรับ เช่น ดินเหนียว การรับน้ำหนักจะเกิดจากเเรงฝืดระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินรอบเสาเข็ม ซึ่งเหมาะกับส่วนต่อเติมครัวหลังบ้านซึ่งมีน้ำหนักไม่มากเมื่อเทียบกับการสร้างอาคารใหญ่
โดยส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ในการต่อเติมครัวหลังบ้านจะเป็นเสาเข็ม คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป (Precast Concrete Pile) เป็นเสาเข็มอัดเเรงหล่อจากโรงงานผลิตด้วยเทคนิคการดึงลวดรับเเรงดึงทำให้มีความเเข็งเเรง (คอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อ อัดแรง)เเละ สะดวกต่อการนำไปต่อเติมครัวหลังบ้านที่มีพื้นที่จำกัด

"หน้าตัดเสาเข็ม" ที่เรามักจะใช้ในท้องตลาดที่มักพบจะมี เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เสาเข็มไมโครไพล์รูปตัวไอ, หน้าตัดกลมกลวง >> หรือ ที่เรียกว่าเข็มสปัน เเต่เเตกต่างเรื่องการกันในเรื่องของเทคนิคการขึ้นรูป เเละ การอัดเสริมเเรง
โดยหากพิจาณาเรื่องของการรับเเรงกดจากโครงสร้างจะมากจะน้อยของการตอกเข็มใน ดินเหนียวกรุงเทพ เเล้วก็จำเป็นจะต้องเลือกเข็มที่มีพื้นที่ผิวมากเพื่อให้เกิดเเรงเสียดทานกับผิวดิน ดังนั้น จึงควรเลือก เสาเข็มหน้าตัดรูปตัว I เมื่อเทียบกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง

%20%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%20Kitchen%20Fort%20.png)
เเละ นอกจากนั้น ในท้องตลาด เสาเข็มไมโครไพล์ ก็ผลิตโดยใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่ออัดแรง ทำให้มีความเเข็งเเรง มากกว่า เสาเข็มเหลี่ยมที่ใช้เทคนิคการขึ้นรูปเเบบปกติไม่มีการอัดเเรง จึงทำให้การตอกเข็มหกเหลี่ยมไม่สามารถตอกเสาต่อกันได้จึงทำให้ได้ระดับความลึกจากผิวดินในระยะจำกัด เเต่สำหรับ ไมโครไพล์ รูปตัว I นั้นสามารถต่อให้ลึกลงไปจนถึงชั้นดินเเข็งดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าปัญหาการทรุดตัวจะน้อยมากๆนั่นเอง
หาก Forter ท่านไหนที่ไม่เเน่ใจเรื่องของฐานรากทาง Kitchen Fort ยินดีให้คำปรึกษาโดยวิศวกรโยธาโดยเฉพาะ เราให้ความสำคัญกับงานของฐานราก มากกว่าครัวสวยคือ ควรที่เเข็งเเรง ตามสโลเเกน #เเข็งเเรงเหมือนบ้านอีกหลัง